me

me

การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาค กับ อนาคตของไทยในอาเซียน

การใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในภูมิภาค กับ อนาคตของไทยในอาเซียน

กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English”
 ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ
ความหมายที่เป็นที่เข้าใจในขั้นต้นก็เป็นเพียงเรื่องของทางราชการ
และภาคธุรกิจเอกชนเท่านั้น
ซึ่งหากเป็นเพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของ
การทำงานในโลกปัจจุบันอยู่แล้ว
       แม้จะหมายความเพียงว่าเป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทว่าความหมายของบทบัญญัติที่ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันนั้นมีความหมายกว้างไกลไปถึงทุกส่วนของประชาคมอาเซียนด้วย

       หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน   แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม  ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน

       ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา เช่นภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขแมร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปิโน ภาษาฮินดี และ ภาษาทมิฬ นอกจากนั้นยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศคือ: จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา                        (ฮินดี, อูรดู, ทมิฬ, เบงกาลี ฯลฯ)

       ภาษาอังกฤษ: ในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิต
       แต่เมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็นภาษาทำงานของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียนและเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน

ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี  ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ฯลฯ

คนทำงานเกี่ยวกับอาเซียน

       คนที่ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องของอาเซียน หมายถึงตั้งแต่พนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ไปจนถึงคนทำงานในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ทุกคนต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก

       ข้าราชการไทยทุกกระทรวงทบวงกรม จะต้องมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ และใช้ได้ดีด้วย เพราะงานเกี่ยวกับอาเซียนนั้นเกี่ยวกับทุกกระทรวงทบวงกรม จากนี้ไปควรเป็นนโยบายของรัฐบาลในการบรรจุข้าราชการทุกระดับทุกหน่วยงานโดยคำนึงถึงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ ไม่ว่าตำแหน่งราชการนั้นๆจะเกี่ยวข้องกับงานอาเซียนโดยตรงหรือไม่ก็ตาม เพราะถึงอย่างไรงานทุกระดับในหน่วยราชการจะต้องเกี่ยวข้องกับอาเซียนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้น รัฐบาลควรมี นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าในช่วงเวลาก่อนถึงปี 2558/2015 อันเป็นปีบรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียน ว่าจะปรับขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชทุกคนทุกระดับแล้วปรับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนข้าราชการที่พัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ให้ได้เงินเดือนสูงพอหรือสูงเหนือเงินเดือนปรกติในระบบราชการปัจจุบัน สูงจนเป็นที่ดึงดูดคนที่มีขีดความสามารถสูงหันมาสนใจรับราชการโดยไม่ลังเลว่าจะไปทำงานภาคเอกชนดีกว่าหรือไม่ สูงจนมาตรฐานการตอบแทนภาครัฐเทียบเท่าหรือดีกว่าภาคเอกชน

       นโยบายระยะสั้นเฉพาะหน้าของระบบราชการก็คือพัฒนาบุคคลากรที่พัฒนาได้แล้วปรับเงินเดือนส่วนที่พัฒนาได้มาตรฐาน ที่เหลือก็ค่อยๆพัฒนาและปรับผลตอบแทนต่อไปในระยะยาว ข้าราชการที่ไม่ปรับตัวก็ให้อยู่อย่างปรกติธรรมดาเหมือนเดิมแบบชีวิตไม่เปลี่ยนแปลงต่อไป เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเรียนรู้ได้เสมอเหมือนกันทุกคน ทุกวัย ทุกวัฒนธรรม ไม่เกี่ยวกับภูมิปัญญาพิเศษใดๆ ใครๆก็เรียนภาษาใหม่ได้ ใครๆก็เรียนภาษาอังกฤษได้- ถ้าอยากจะเรียน -ไม่มีข้ออ้างว่ายากจน เรียนไม่ไหว หรืออายุมากแล้ว ลิ้นแข็งเรียนไม่ได้แล้ว ภาษาเป็นทักษะ เรียนรู้ได้ด้วยการฝึกฝน ใช้มากๆ ใช้บ่อยๆ เท่านั้นเอง ถ้าขยันเรียนก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ในเวลาไม่นาน วิธีสร้างแรงจูงใจโดยการปรับขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการจึงเป็นแรงจูงใจอย่างมีเหตุผลดีในการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของข้าราชไทยยุคประชาคมอาเซียน

       นโยบายระยะยาว ก็ควรเป็นการให้ขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐานกลางของระบบราชการโดยปรับเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งระบบ หากทำเช่นว่านี้ได้ก็เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมในการปรับฐานเงินเดือนและผลตอบแทนให้ข้าราชการทุกคน

       พนักงานประจำสำนักเลขาธิการอาเซียน สำหรับคนที่ต้องการจะไปทำงานเกี่ยวกับอาเซียนโดยตรงในสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา หรือสำนักงานสาขาในประเทศอื่นที่จะมีในอนาคต ตลอดจนผู้ที่จะไปทำงานให้กับรัฐบาลประเทศสมาชิกอื่นของอาเซียน กล่าวโดยตรงก็คือคนที่จะไปรับราชการในประเทศอาเซียนอื่น ซึ่งในอนาคตจะเป็นเรื่องจริงที่เป็นไปได้ เพราะแต่ละรัฐสมาชิกจะมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้รู้เกี่ยวกับอาเซียนและรัฐสมาชิกอื่นในระบบการทำงานของราชการ (หรือรัฐการ) ของตน ประเทศในอาเซียนจะมีความต้องการว่าจ้างคนไทยที่มีความรู้ความสามารถเรื่องไทยและเรื่องอาเซียนให้เข้ารับราชการในประเทศของตน ชาวไทยที่แสวงหาโอกาสใหม่ๆให้กับชีวิตก็ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษก่อนเรื่องอื่นใด ในยุคอาณานิคม แม้ไทยจะมิได้เป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่รัฐบาลสยามก็จ้างชาวอังกฤษมาเป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนแรก และจ้างชาวดัทช์มารับราชการในกรมชลประทาน และ จ้างชาวอังกฤษมาเป็นครูในพระราชวังและในระบบการศึกษาพื้นฐาน ในปัจจุบันกระทรวงการต่างประเทศของไทยและของชาติสมาชิกอาเซียนอื่นก็ล้วนแล้วแต่มีกรมกิจการอาเซียนด้่วยกันทั้งนั้น และย่อมเป็นไปได้ที่แต่ละหน่วยงานจะมีความจำเป็นต้องจ้างชาวไทยเข้าสู่ระบบราชการของแต่ละประเทศด้วย ในทางกลับกันระบบราชการไทยก็จะมีความจำเป็นที่ต้องจ้างชาวลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และ ฟิลิปปินส์ มาทำงานในกระทรวงต่างๆของไทย ทำนองเดียวกันกับที่สถาบันการศึกษาต่างๆจ้างครูชาวต่างชาติ

       ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป

(ภาษาอังกฤษ สำหรับ : คนทำงานในอาเซียน คนทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน คนมีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน คนแสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน คนมีเพื่อนในอาเซียน คนเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน)
สมเกียรติ อ่อนวิมล

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและข่าวดีๆที่ร่วมสร้างสรรค์การศึกษาไทย
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์        ภภ  

ภาพประกอบจาก nytimes.com

How to Excel in English


            วิธีที่จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษ
            How to Excel in English     

          (Master Jonathan's tactics) 
               A lot of Thai students especially English admirers, would like to know "how to be good at English". According to Joseph Bellafiore, a veteran American linguist, the best way to excel of English is to try to enrich your word power. "The more vocabularies you gain, the better English learner you are," says Bellafiore.

             เด็กนักเรียนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ชอบภาษาอังกฤษล้วนอยากจะทราบ "วิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง" กันทั้งนั้น โจเซฟ เบลลาฟิโอเร นักภาษาศาสตร์อเมริกันผู้เชียวชาญ กล่าวไว้ว่า วิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งก็คือ จงพยายามเสริมสร้างความรู้ในเรื่องศัพท์ "ยิ่งรู้ศัพท์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นผู้เรียนภาษาอังกฤษยิ่งขึ้นเท่านั้น" เบลลาฟิโอเรกล่าว
            
              
Wide reading of books, newspapers and magazines gives you a great leap forward to increase your command of words. Since you're interested in getting better marks in English exams, landing a good job in the near future and becoming a person who can speak English fluently, you must start now!  To start with, there are six ways to a better vocabulary :

              การอ่านมาก ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารจะทำให้เราก้าวไกลมากในการเพิ่มพูนเสริมสร้างการใช้ศัพท์ ในเมื่อเราสนใจอยากได้คะแนนสอบภาษาอังกฤษสูงๆ อยากได้งานดีๆ ในอนาคตอันใกล้ และอยากเป็นคนที่สามารถพูดอังกฤษคล่อง เราต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้
             ทีเดียว ก็มีอยู่ 6 วิธีด้วยกันในอันที่จะทำให้เก่งศัพท์ยิ่งขึ้น1. Experience : ประสบการณ์
              
You have to widen your range of experience by firsthand contact with English-speaking people. In a nutshell, you have to try to converse with English speakers-on whatevertopics-whenever you have a chance. Life is the greatest teacher of words and everything else.


             เราควรเสริมสร้างเราควรจะเสริมสร้างประสบการณ์ที่มีอยู่ด้วยการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคนที่พูดภาษาอังกฤษ คือ พูดง่ายๆ เราควรจะพยายามสนทนากับคนที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะคุยเรื่องอะไร เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีโอกาสชีวิตคือครูคำศัพท์และทุกสิ่งทุกอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
2. Reading : การอ่าน      
                  You must develop your habit of reading English books, newspaper and magazines based on interests, hobby, vocation , etc. Reading is one of the chef tools in broadening your background.
                 เราต้องพัฒนานิสัยในการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่เป็นภาษาอังกฤษบนพื้นฐานของความสนใจ งานอดิเรก อาชีพ เป็นต้น การอ่านถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักๆ ที่จะเสริมสร้างภูมิหลังให้แก่เรา
3. Dictionary : พจนานุกรม
              You should get better acquainted with the contents and arrangements of words in the dictionary. The dictionary is a "must" for every English learner.
               เราควรจะทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาสาระและการเรียงร้อย คำในพจนานุกรมให้ดียิ่งขึ้น พจนานุกรมนั้น "จำเป็น" สำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษ
4. Notebook : สมุดบันทึก
               After collecting words, you are to keep a neat record of new words in your
notebook. If possible, you should copy the phrase of sentence to illustrate its actual use. And don't forget to check the meaning of every word or sentence you copy.

              หลังจากรวบรวมคำศัพท์ เราต้องจดบันทึกคำศัพท์ใหม่ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบในสมุดบันทึกของเรา หากเป็นไปได้ให้คัดลอกวลีหรือประโยคที่แสดงถึงวิธีใช้และอย่าลืมตรวจดูความหมายของทุกคำ
5. Word-families or roots : ตระกูลศัพท์หรือรากศัพท์
                  You should have to study t groups of words that are related in structure and meaning because of prefixes , roots and suffixes. Latin and Greek parents have given us thousand of words in English.
                 เราต้องศึกษาหมวดหมู่ของคำศัพท์ต่างๆ ที่สัมพันธ์กันในโครงสร้างและความหมายอันเนื่องจากคำเติมหน้า (อุปสรรค)  รากศัพท์ และคำต่อท้าย (อาคม) ตระกูลศัพท์ที่มาจากภาษาลาตินและกรีกนั้นได้ให้ศัพท์ในภาษาอังกฤษแก่เรานับพันๆ คำ
6. Word-games : เกมคำศัพท์
                  Just for fun , if you can become a crossword puzzle fan and solve other games that appear in newspapers, magazines, quiz books , etc.
                  All in all, you have to read , write and speak English as much as you can, in an attempt to excel in English.

                 เพื่อความสนุก หากเราสามารถจะเป็นแฟนเกมปริศนาอักษรไขว้ และไขเกมคำศัพท์อื่นๆ ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเกมปริศนา เป็นต้น
                 ทั้งนี้และทั้งนั้น เราจะต้องอ่าน เขียนและพูดภาษาอังกฤษให้ได้มากเท่าที่จะมากได้ ในความพยายามที่จะทำให้เก่งอังกฤษ
                      


แบบฝึกหัดเรื่อง Nouns





 แบบฝึกหัด ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง  Nouns


คำชี้แจง ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดนะคะ
1. ข้อใดหมายถึงกล้วย 3 ผล
    a. an apple b. a banana c. three apples
    d. three bananas
2. ข้อใดหมายถึงลิง 1 ตัว
    a. a monkey b.  an monkey c.  two monkeys d.  three monkeys
3. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a. books b.  birds c.  milk d.  rose
4. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a.  radio b.  coffee c.  king d.  John
5. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a.  frog b.  salt c.  pineapple d.  policeman
6. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a.  tomato b.  hand c.  air d.  student
7. ข้อใดเป็นคำนามนับได้
    a.  bus b.  sand c.  cheese d.  rice
8. ข้อใดเป็นคำนามนับได้
    a.  tea b.  rock c.  water d.  computer
9. ข้อใดเป็นคำนามผสม
    a.  toothbrush b.  doctor c.  father d.  fox
10. ข้อใดเป็นคำนามผสม
    a. clock b. mice c. classroom d. window

2. ข้อใดหมายถึงลิง 1 ตัว
    a. a monkey b.  an monkey c.  two monkeys d.  three monkeys
3. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a. books b.  birds c.  milk d.  rose
4. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a.  radio b.  coffee c.  king d.  John
5. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a.  frog b.  salt c.  pineapple d.  policeman
6. ข้อใดเป็นคำนามนับไม่ได้
    a.  tomato b.  hand c.  air d.  student
7. ข้อใดเป็นคำนามนับได้
    a.  bus b.  sand c.  cheese d.  rice
8. ข้อใดเป็นคำนามนับได้
    a.  tea b.  rock c.  water d.  computer
9. ข้อใดเป็นคำนามผสม
    a.  toothbrush b.  doctor c.  father d.  fox
10. ข้อใดเป็นคำนามผสม
    a. clock b. mice c. classroom d. window

Present simple tense

 Present Simple Tense
Tense (เท็นซ) หมายถึง กาลเวลา เป็นรูปแบบของคำกริยาที่แสดงให้ทราบว่า การกระทำนั้นๆหรือเหตุการณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นเมื่อไร ได้เกิดขึ้นแล้วหรือว่ากำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กาลเวลาด้วยกันคือ
            1. Present Tense (เพร็ซซึนซ เท็นซ)       =  เหตุการณ์ปัจจุบัน
            2. Past Tense (พาสท เท็นซ)               =  เหตุการณ์ในอดีต
3. Future  Tense (ฟิลเชอร์ เท็นซ)            =  เหตุการณ์ในอนาคต
ซึ่ง Tense ที่เราจะศึกษากันในวันนี้เป็น Present Tense (เหตุการณ์ปัจจุบัน) ในรูปของ Present Simple Tense ซึ่งเป็น Tense พื้นฐานที่นักเรียนจำเป็นต้องศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษา Tense อื่นๆในระดับสูงต่อไป



โครงสร้างของ Present Simple Tense

กรณีที่ 2 หาก Subject (ประธาน) เป็น Plural Subject (เอกพจน์ มีมากกว่าหนึ่ง) V1 ไม่ต้องเติม S
       กฎข้อนี้รวมไปถึง ประธานที่ไม่ใช่ Plural Subject 2 ตัว คือ I และYou ด้วยนะคะ

Subject
V1+s
V. to be
V. to have
They , We
พวกเขา , พวกเรา

  I
ฉัน 

 You
เธอ
ประธาน เดิน ไปโรงเรียน
V1 ใช้คำว่า (walk)
ß
They walk to school.
We walk to school.
I walk to school.
You walk to school.
ประธาน เป็น นักเรียน
V. to beใช้คำว่า  are
ß
They are students.
We are students.
ประธาน มี ปากกา 1 ด้าม
V.to haveใช้คำว่า have
ß

ประธาน ( I ) เป็น นักเรียน
V. to beใช้คำว่า am
ß
I am a student.
They have a pen.
We have a pen.
I have a pen.
You have a pen.
ประธาน (You) เป็น นักเรียน
V. to beใช้คำว่า are
ß
You are a student.
Jan and Jo are students. (แจนและโจเป็นนักเรียน)
ประโยคนี้ เราใช้ are เป็น V. เพราะ Jan and Jo มี 2 คน เป็น Plural มากกว่า 1 แทนชื่อประธานด้วย They ได้  จึงใช้ are เป็น V. ได้

My friends walk to school. (เพื่อนของฉันเดินไปโรงเรียน)
ประโยคนี้ เราใช้ walk เป็น V. ไม่เติม S เพราะ..........................................................แทนชื่อประธานด้วย ………………. ได้  จึงใช้ walk เป็น V. ได้โดยไม่ต้องเติม S
My parents have a pen. (พ่อกันแม่ของฉันมีปากกา 1 ด้าม)
ประโยคนี้ เราใช้ have เป็น V. เพราะ.......................................................................แทนชื่อประธานด้วย ………………. ได้  จึงใช้ have เป็น V. ได้







กฎในการเติม s และ es หลัง V1 (กริยาช่องที่1)
1. เติม s ได้ทันที่หลังคำกริยาปกติทั่วๆ ไป
          walk  -        walks                             eat     -        eats
          read   -        reads                              move -        moves
          swim -        swims                            listen -        listens

2. เติม es หลังคำหริยาที่ลงท้ายด้วย s , ss , sh , ch , x , z และ o เช่น
                dress -        dresses                 kiss   -        kisses
          teach -        teaches                 wash -        washes
          fix     -        fixes                     go     -        goes

3. คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เช่น
                study -        studies                 cry     -        cries
          fly     -        flies                     try     -        tries

** ยกเว้น ถ้าหน้า y เป็นสระ ( a , e , i , o , u ) ให้เติม s ได้เลย เช่น
                play   -        plays                    buy    -        buys
        stay     -        stays                     say    -        says
























































การทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม
1. ประโยคบอกเล่าที่มี V. to be ( is, am, are ) และ can สามารถทำได้ดังนี้
                                * เพื่อให้เป็นประโยคปฏิเสธให้เติม not หลัง V. to be หรือ can
* เพื่อให้เป็นประโยคคำถาม ให้เอา V. to be หรือ can มาไว้หน้าประโยค พร้อมใส่เครื่องหมายคำถาม (?)  ตัวอย่างเช่น

ปฏิเสธ   : He is not a student.
บอกเล่า : He is a student.
คำถาม    : Is he a student?

ปฏิเสธ: They can not speak English.
บอกเล่า : They can speak English.
คำถาม    : Can they speak English?

2. ประโยคทีมี V. to have (have, has) ปกติเราสามารถใช้วิธีเดียวกับคำกริยาช่วยตัวอื่นๆที่กล่าวมาในข้อ 1 แต่ปัจจุบันนิยมใช้ V. to do (do, dose) มาช่วยในการทำเป็นประโยคปฏิเสธและประโยคคำถามดังนี้คะ
          ประโยคปฏิเสธ เติม Does not/Do not หน้า V. to have.
                ประโยคคำถามเติม Does / Do หน้าประโยคบอกเล่า.
ปฏิเสธ   : He does not have a car.
บอกเล่า : He has a car.
คำถาม    : Does he have a car ?

ปฏิเสธ:We do not have some books.
บอกเล่า : We have some books.
คำถาม    : Do we have some books?






หลักในการใช้ Present Simple Tense

1. ใช้ Present Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นความจริงตลอดไป เช่น
                The sun rises in the east. (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก)
                The moon moves round the earth. (ดวงจันทร์หมุนรอบโลก)
                The earth is round. (โลกกลม)
                The stars shine brightly at night. (ดวงดาวต่างๆส่องแสงสว่างจ้าในตอนกลางคืน)
                Water boils at 100 c. (น้ำเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส)
2. ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงตามคำพังเพย หรือคำสุภาษิต เช่น
                Time is money. (เวลาเป็นเงินเป็นทอง)
                Three and Three make six. ( สามบวกสามเป็นหก)
3. ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำโดยสม่ำเสมอ เป็นนิสัยหรือเป็นกิจวัตรส่วนใหญ่มักจะมีคำต่อไปนี้อยู่ในประโยค เช่น
Always            =  สม่ำเสมอ                 Often               =  บ่อยๆ
Usually            =  โดยปกติ                  Sometimes       =  บางครั้ง
Ever                 =  เคย                       Never               =  ไม่เคย
every  day             =  ทุกๆ วัน             generally         =  โดยทั่วๆ ไป
seldom                  =  แทบจะไม่           at 7.00             =  เวลา 7 นาฬิกา
at night                  =  ตอนกลางคืน           in winter         =  ในฤดูหนาว

She usually forgets the key. (โดยปกติเธอลืมกุญแจเป็นประจำ)
We walk to school everyday. (พวกเราไปโรงเรียนทุกวัน)
4. ใช้กับคำกริยาที่แสดงการรับรู้แลสภาวะจิตใจ เช่น Believe, like, love, see, hear understand, taste, hate……..
I believe my parents. (ฉันเชื่อฟังพ่อแม่ของฉัน)
He likes cats and dogs. (เขารักแมวและสุนัข)
We understand what he said. (พวกเราเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด)







ข้อแตกต่างระหว่าง Present Simple Tense
และ Past Simple Tense

Present Simple Tense เป็นประโยคที่ใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบัน เรื่องที่ทำบ่อยๆ เป็นธรรมชาติ
Past Simple Tense เป็นประโยคที่ใช้ในเหตุการณ์ที่เป็นอดีตโดยมีคำระบุความเป็นอดีตเช่น yesterday (เมื่อวานนี้) , last night (week/month/ year/..etc.)(...ที่แล้ว) , at that time (ในตอนนั้น),
1. ประโยคบอกเล่า
Present Simple Tense
Past Simple Tense
A dog walks to school.
A dog walked to school yesterday.
They come to see me.
They came to see me last Thursday.
2. ประโยคปฏิเสธ
Present Simple Tense
Past Simple Tense
A dog does not walk to school.
A dog did not walk to school yesterday.
They do not come to see me.
They did not come to see me last Thursday.
3. ประโยคคำถาม
Present Simple Tense
Past Simple Tense
Does a dog walk to school?
Did a dog walk to school yesterday?
Do they come to see me?
Did they come to see me last Thursday?